โครงการอนุรักษ์การได้ยิน

โครงการอนุรักษ์การได้ยิน

3M Hearing Conservation Program

โครงการอนุรักษ์การได้ยิน นอกจากการฝึกอบรมแล้วยังมีองค์ประกอบอีกหลายอย่าง

ที่ทางผู้จัดการโครงการต้องรับผิดชอบ 3เอ็ม ขอเสนอแนวทางในการจัดทำโครงการ

และทางเลือกสำหรับการพิจารณาอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในโครงการอนุรักษ์การได้ยินดังนี้

 

Measure (ตรวจวัดระดับเสียง)

ก่อนจะทราบว่าพื้นที่ใดบ้างในสถานประกอบการต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน

ต้องมีการสำรวจพื้นที่โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดระดับเสียงที่ได้มาตรฐาน

Control (ควบคุมแหล่งกำเนิดเสียง)

เมื่อทราบแหล่งที่มาของเสียงดัง ควรพิจารณาให้มีการปรับปรุงทางด้านวิศวกรรมเป็นอันดับแรก

หากไม่สามารถปรับปรุงให้ดำเนินการหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลมาใช้งาน

Protech (อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียงดัง)

3เอ็ม คิดค้นพัฒนาอุปกรณ์ลดเสียงที่มีประสิทธิภาพสูง

เพื่อปกป้องสุขภาพหูของพนักงานในบริเวณที่เสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

3M Hearing Protection : Earplug, Earmuff และ Protective Communication Solution

Check (ตรวจสอบ)

การตรวจสุขภาพโดยวัดการได้ยินด้วยเครื่อง Audiogram เป็นส่วนหนึ่งของการติดตามผล

ซึ่งบางครั้งจะพบว่าแม้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายแล้ว แต่ยังพบว่ามีการสูญเสียการได้ยิน

สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเลือกอุปกรณ์ป้องกันไม่เหมาะสม หรือใส่ไม่กระชับ

3M E-A-R fit Dual-Ear Validation System สามารถช่วยทดสอบ

ความกระชับ และเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคนได้

Train (ฝึกอบรม)

การฝึกอบรมเป็นหัวใจหลักสำคัญของการทำงานด้านความปลอดภัย

เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกความปลอดภัยให้กับพนักงาน และนำแนวทางการป้องกันไปปฎิบัติ

3เอ็ม มีศูนย์เทรนนิ่ง และวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงานได้เป็นอย่างดี

Record (บันทึกผลโครงการ)

เก็บข้อมูลผลการสำรวจพื้นที่ การสอบเทียบเครื่องมือ ตรวจวัดการได้ยิน เอกสารทดสอบความกระชับ

และอุปกรณ์ป้องกันอันตราย และเอกสารการอบรมให้ความรู้เพื่อใช้ในการติดตามผลการดำเนินโครงการ

Evaluate (ประเมินผลโครงการ)

ประเมินผลโครงการว่าเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด สำรวจความพึงพอใจของพนักงานที่เข้าร่วมโครงการ

รวบรวมผลความสำเร็จของโครงการ เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการอนุรักษ์การได้ยิน

ที่ได้ดำเนินการนั้นสามารถช่วยลดการสูญเสียการได้ยินของพนักงานได้

 

3M E-A-Rfit Dual-Ear Validation System

EARfit

การป้องกันอันตรายจากเสียงดังในสถานประกอบการเป็นเรื่องยาก

ที่จะดำเนินการได้จริงจากสถิติสำนักงาน สถิติแรงงานแห่งสหรัฐอเมริกา (2010)

พบว่าโรคจากการทำงานที่พบได้มากที่สุดในสถานประกอบการคือโรคสูญเสียการได้ยินแบบถาวร

ซึ่งทำให้เห็นว่าความสำเร็จของโครงการอนุรักษ์การได้ยินไม่ใช่แค่เพียงเลือกอุปกรณ์ป้องกันอันตราย (PPE)

แต่ต้องถูกต้องและเหมาะสมแต่ละบุคคลด้วย

ประโยชน์ของการทดสอบความกระชับต่อพนักงาน

1. พนักงานที่สวมใส่ที่อุดหู ที่ครอบหู ถูกต้อง สามารถลดอันตรายจากเสียงดังได้

   อย่างเต็มประสิทธิภาพ และลดโอกาสการสูญเสียการได้ยิน

2. มีความเชื่อมั่นในการใช้งานอุปกรณ์ที่ทางโรงงานจัดไว้ให้มากขึ้น

3. สามารถป้องกันอันตรายได้จริง จากค่าประสิทธิภาพการลดเสียงส่วนบุคคล

   (Personal Attenuation Rating : PAR)

การรายงานผลจาก 3M E-A-Rfit Dual Validation System

- รายงานค่าประสิทธิภาพการลดเสียงส่วนบุคคล (Personal Attenution Rating : PAR) ของหูทั้งสองข้าง

- รายงานผลความกระชับจากการสวมใส่เป็น 0%

- รายงานแสดงผลการลดเสียง 7 คลื่นความถี่

- รายงานสรุปผลเสียงสูงสุดที่สัมผัสได้หลังจากสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงดังรุ่นที่ทำการทดสอบ

Fail : ผลการทดสอบ Fail 

หมายถึงอุปกรณ์ป้องกันอันตราย จากเสียงดังที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสม กับลักษณะงานหรือสรีระของช่องหู

Pass : ผลการทดสอบ Pass

หมายถึงอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียงดังที่ใช้อยู่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ทำอยู่

 

HotLine สายตรง 086-376-1316 (คม) , 081-554-5861 (ต่อ), 081-242-9466 (ป๊อด)

Visitors: 7,412